วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การติดตั้งโปรแกรม Eclipse Luna ใน Linux Ubuntu

1. ลง Java วิธีการติดตั้ง Java บน Linux Ubuntu
2. เลือก Eclipse จาก website : http://www.eclipse.org/downloads/ (สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมโดยภาษา java สามารถเลือกได้ 2 Version ดังนี้

  • Eclipse IDE for Java Developers สำหรับผู้พัฒนา Java ทั่วไป (Java SE)
  • Eclipse IDE for Java EE Developers สำหรับผู้พัฒนา Java ระดับ Enterprise (Java EE)
4. แตกไฟล์ที่ Download มาไปไว้ที่ /opt เพื่อให้ user ที่ใช้เครื่องสามารถใช้ได้ โดยใช้คำสั่ง cd /opt/ && sudo tar -zxvf ~/Downloads/eclipse-*.tar.gz
5. สร้าง Shortcut สำหรับ run โปรแกรม Eclipse Luna โดย การสร้าง Icon บน Ubuntu Desktop
6. Help-> Check for update
7. โดยปกติ Eclipse จะมี Plugin Egit มาให้เป็น Default อยู่แล้ว

หมายเหตุ การเรียกใช้คำสั่งให้กดปุ่ม Ctrl+Alt+T เพื่อเข้าไปยัง Terminal สำหรับรับคำสั่ง

การสร้าง Shortcut บน Ubuntu Desktop

การสร้าง Shortcut บน Ubuntu Desktop ทำได้โดย
1. สร้างไฟล์ขึ้นมาใน /usr/share/applications/ โดยนามสกุลของไฟล์ต้องลงท้ายด้วยคำว่า desktop โดยใช้คำสั่ง vi เช่น
vi /usr/share/applications/eclipse.desktop

2. โดยในไฟล์จะต้องเริ่มต้นบรรทัดแรกด้วย [Desktop Entry] แล้วตามด้วยข้อมูลในบรรทัดอื่น ๆ โดยมีข้อมูลดังนี้
2.1 Version คือ เวอร์ชันของ .desktop ไฟล์
2.2 Name คือชื่อของ Application ที่ต้องการให้แสดง
2.3 Comment คือข้อความที่อธิายโปรแกรมสั้น ๆ
2.4 Exec คือที่อยู่ของไฟล์ที่จะใช้ในการสั่งรันโปรแกรม ซึ่งควรระบุเป็นแบบ Full Path
2.5 Icon คือฟิวด์สำหรับที่เก็บภาพ ICON ว่าอยู่ที่ไหน
2.6 Terminal คือฟิลด์ที่ใช้กำหนดว่า Application นี้จะต้องเปิดเป็นหน้าต่างขึ้นมารันหรือไม่ (ถ้าเป็น True จะเหมือนกับ MS Windows ที่ต้องเปิดเป็นหน้าต่างด้วยคำสั่ง cmd ขึ้นมารันคำสั่งอื่น ๆ
2.7 Type คือ ฟิลด์ที่บอกชนิดของโปรแกรมที่จะมาใช้ทำ Shortcut
2.8 Categories คือฟิลด์ที่ใช้กำหนดประเภทของ Application เช่น IDE, Accessories, Utility เป็นต้น
2.9 NoDisplay คือฟิลด์ที่ใช้บอกว่าจะให้หาเจอในเมนูของ Ubuntu หรือไม่ ถ้าใส่ Yes จะไม่สามารถหา Application ดังกล่าวเจอ

ตัวอย่าง
ชื่อไฟล์ eclipse.desktop
[Desktop Entry]
Name=Eclipse Luna
Type=Application
Exec=/opt/eclipse/eclipse
Terminal=false
Icon=/opt/eclipse/icon.xpm
Comment=Integrated Development Environment
NoDisplay=false
Categories=Development;IDE;
Name[en]=Eclipse

รายบละเอียดเพิ่มเติม http://standards.freedesktop.org/desktop-entry-spec/desktop-entry-spec-1.1.html

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การติดตั้ง Java บน Linux Ubuntu

Java เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม แต่การที่โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา java นั้นจะสามารถทำงานได้ต้องมีการติดตั้ง jre หรือ jdk ก่อน

  • jre (Java Runtime Environment) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้ในการรันโปรแกรมภาษา java
  • jdk (Java Development Kit) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้ในการรันและการ Compile โปรแกรมภาษา java

1. ติดตั้งโปรแกรมจาก java โดยใช้คำสั่ง sudo aptitude install default-jre (สำหรับผู้ใช้ทั่วไป) หรือใช้คำสั่ง sudo aptitude install default-jdk (สำหรับผู้ที่จะพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา Java)
2. หากมี java หลายตัวสามารถเลือว่าจะใช้ java ตัวใด โดยใช้คำสั่ง sudo update-alternatives --config java
3. กำหนด java home โดยทำการแก้ไขไฟล์ /etc/environment โดยใช้คำสั่ง sudo vim /etc/environment แล้วทำการเพิ่มบรรทัด ดังนี้ JAVA_HOME="ชื่อแฟ้มที่เก็บโปรแกรม Java" เช่น JAVA_HOME="/usr/lib/jvm/java-7-openjdk-amd64"
4. จากนั้นใช้คำสั่งเพื่อทำการเปลี่ยนตัวแปร JAVA_Home ให้เป็นตามที่เรากำหนดด้วยคำสั่ง source /etc/environment
5. ทำการทดสอบว่าได้ java ใน version ที่เราต้องการหรือไม่ ด้วยคำสั่ง java --version

การใช้คำสั่ง dpkg

คำสั่ง dpkg เป็นคำสั่งคำสั่งสำหรับลงโปรแกรมของ Linux ที่มี Distribution เป็นแบบเดียวกับ Debian Linux (เดเบียนลีนุกซ์)
คำสั่งคำอธิบายตัวอย่าง
dpkg -i {.deb package}ลงโปรแกรมตามแพ็กเกตที่กำหนดdpkg -i Apache_OpenOffice_4.1.1_Linux_x86_64.deb
dpkg -i {.deb package}อัพเกรดโปรแกรมที่มีอยู่แล้วdpkg -i  Apache_OpenOffice_4.1.1_Linux_x86_64.deb
dpkg -R {Directory-name}ลงโปรแกรมทุกตัวdpkg -R /tmp/th/DEBS/*.deb
dpkg -r {package}ลบโปรแกรมที่ install แล้วยกเว้น Config filesdpkg -r apache-openoffice
dpkg -P {package}ลบไฟล์ทั้งหมดของโปรแกรมรวมถึง Config ไฟล์ด้วยdpkg -P apache-openoffice
dpkg -lแสดงโปรแกรมที่ลงแล้วพร้อมทัั้ง Version และคำอธิบายคร่าว ๆdpkg -l
dokg -l | less
dpkg -l '*openoffice*'
dpkg -l | grep -i 'apache'
dpkg -l {package}แสดงข้อมูลของโปรแกรมที่ลงแล้วตาม package ที่กำหนดdpkg -l openoffice
dpkg -L {package}แสดงไฟล์ทั้งหมดที่ลงตาม Packagedpkg -L openoffice
dpkg -c {.Deb package}แสดงไฟล์ใน Package ที่นามสกุล .debn เพื่อประโยชน์ในการเลือกไฟล์ลงโปรแกรมdpkg -c Apache_OpenOffice_4.1.1_Linux_x86_64.deb
dpkg -S {/path/to/file}หาว่า Package ใดเป็นคนลงไฟล์นี้/opt/openoffice4/program/spadmin
dpkg -p {package}แสดงรายละเอียดของ package, verion, ผู้เขียนออกแบบโปรแกรม, url ในการติดต่อ ฯลฯ dpkg -p openoffice
dpkg -s {package} | grep Statusแสดงสถานะของโปรแกรมว่าติดตั้งแล้วหรือไม่dpkg -s openoffice | grep installed

วิธีการติดตั้ง(install) Open Office ภาษาไทย บน Linux Ubuntu

1. เลือก Open Office Vesrion ท่ี่ต้องการแล้ว download จาก http://www.openoffice.org/download/ มาเก็บไว้ใน /tmp ด้วยคำสั่ง
cd /tmp
wget http://sourceforge.net/projects/openofficeorg.mirror/files/4.1.1/binaries/th/Apache_OpenOffice_4.1.1_Linux_x86-64_install-deb_th.tar.gz

2. ทำการลบ Libre Office ออก ด้วยคำสั่ง
sudo apt-get remove --purge libreoffice* libexttextcat-data* && sudo apt-get autoremove

4. แตกไฟล์ด้วยคำสั่ง tar ไปที่ตำแหน่ง /tmp
tar -xvf Apache_OpenOffice_4.1.1_Linux_x86-64_install-deb_th.tar.gz

3. ใช้คำสั่ง dpkg ในการ install โปรแกรม open office
sudo dpkg -i th/DEBS/*.deb

4. ใช้คำสั่ง dpkg ในการ install ให้การแสดงผลของ Open Office ใช้บน Desktop ได้ตามปกติ
sudo dpkg -i th/DEBS/desktop-integration/*.deb

่วิธีการหา เคอร์เนล เวอร์ชัน (Kernel Version)

1. ใช้คำสั่ง uname -a
ผลลัพธ์ที่ได้
Linux KittichaiS 3.13.0-55-generic #94-Ubuntu SMP Thu Jun 18 00:27:10 UTC 2015 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux

2. ใช้คำสั่ง uname -mrs
ผลลัพธ์ที่ได้
Linux 3.13.0-55-generic x86_64

การกำหนดให้ user ที่ใช้ SSH log out โดยอัตโนมัติ

สามารถทำได้โดยการ set ตัวแปล TMOUT โดยหน่วยเป็นวินาที
ต้องทำการกำหนดให้ตัวแปลเป็นแบบ Readonly (เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นกำหนดค่าลงใน TMOUT ได้)

export TMOUT=300 #จำกัดเวลาหากไม่กดปุ่มใด ๆ เป็นเวลา 5 นาทีให้ต้ดการเชื่อมต่อ
readonly TMOUT #ให้ตัวแปร TMOUT เป็นตัวแปรที่อ่านอย่างเดียวไม่สามารถเขียนทับได้

การหาประเภทของ ลีนุกซ์ (Linux Distributions)

วิธีการหาประเภทของ Linux(Linux Distributions) มีอยู่หลายวิธีผมขอสรุปเรียงลำดับตามผลลัพธ์ที่เห็นว่าดีที่สุดไปยังผลลัพธ์ที่ผมเห็นว่าพอใช้ได้ ดังนี้

1. ใช้คำสั่ง lsb_release -a
ผลลัพธ์ที่ได้
No LSB modules are available.
Distributor ID: Ubuntu
Description: Ubuntu 14.04.2 LTS
Release: 14.04
Codename: trusty

2. ใช้คำสั่ง cat /etc/lsb-release
ผลลัพธ์ที่ได้
DISTRIB_ID=Ubuntu
DISTRIB_RELEASE=14.04
DISTRIB_CODENAME=trusty
DISTRIB_DESCRIPTION="Ubuntu 14.04.2 LTS"

3. ใช้คำสั่ง cat /etc/issue
ผลลัพธ์ที่ได้
Ubuntu 14.04.2 LTS \n \l


4. ใช้คำสั่ง dmesg | head -4
ผลลัพธ์ที่ได้
[    0.000000] Initializing cgroup subsys cpuset
[    0.000000] Initializing cgroup subsys cpu
[    0.000000] Initializing cgroup subsys cpuacct

[    0.000000] Linux version 3.13.0-55-generic (buildd@brownie) (gcc version 4.8.2 (Ubuntu 4.8.2-19ubuntu1) ) #94-Ubuntu SMP Thu Jun 18 00:27:10 UTC 2015 (Ubuntu 3.13.0-55.94-generic 3.13.11-ckt20)

5. ใช้คำสั่ง cat /proc/version
ผลลัพธ์ที่ได้
Linux version 3.13.0-55-generic (buildd@brownie) (gcc version 4.8.2 (Ubuntu 4.8.2-19ubuntu1) ) #94-Ubuntu SMP Thu Jun 18 00:27:10 UTC 2015